*พุทธวจน การฝึกจิตให้สงบ | วิมุตินิยม

*พุทธวจน การฝึกจิตให้สงบ


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

พุทธวจน คำสอนของพระพุทธเจ้า
ให้ใช้ธรรมวินัยเป็นศาสดา
อานนท์ !!
ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า
ธรรมวินัยของพวกเรา
มีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว
พวกเราไม่มีพระศาสดา ดังนี้
อานนท์ !!
พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น
อานนท์ !!
ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว
บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น
จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย
โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
อานนท์ !!
ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี
ใครก็ตาม
จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่
อานนท์ !!
ภิกษุพวกใดเป็นผู้ใคร่ในสิกขา
ภิกษุพวกนั้น
จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล
อานนท์ !!
ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้
มีในยุคแห่งบุรุษใด
บุรุษนั้นชื่อว่า
เป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย
เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า
เธอทั้งหลาย !!
อย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย
Cr http://watnapp.com/audio

*พุทธวจน การฝึกจิตให้สงบ

แสดงบทบาทสมมุติ วิมุตินิยม


แสดงบทบาทสมมุติ วิมุตินิยม

เพียรเผากิเลส #คำสอนของพระพุทธเจ้า – พุทธวจน


คำสอนของ พระพุทธเจ้า \u0026 พุทธวจน
    ปัจฉิวาจา
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เธอทั้งหลาย จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาณเถิด…

เพียรเผากิเลส #คำสอนของพระพุทธเจ้า - พุทธวจน

สื่อธรรมะพ่อครู ตอน วิปลาส 4 กับเจโตปริยญาณ 16


สื่อธรรมะพ่อครู ตอน วิปลาส 4 กับเจโตปริยญาณ 16
_สู่แดนธรรม…ตอนพ่อครู อายุ ถึง 100 ปีให้พวกเราบรรลุอรหันต์ฉลองกันเยอะๆครับ
พ่อครูว่า…มันไม่ดีหรอก เอิกเริก พูดถึงตรงนี้แล้วรู้สึกสมเพช สังเวช สังเวชที่ท่านเองท่านหลงอรหันต์เก๊ แล้วท่านก็ฉลองกัน สร้างทำเนียบกัน ทำทำเนียบพระอรหันต์กันขึ้นมา ดูแล้วอาตมาสงสาร แสนเศร้า ที่พูดนี้ด้วยใจจริงไม่ได้พูดข่มทับถมหรอก คือสงสารเขางมงายกัน ทำไป ไม่รู้จริงๆ ท่านไม่รู้จริง อวิชชากันจริงๆ น่าสมเพชเวทนากันจริงๆ ท่านหลงกันจริงๆ หลงกันอย่างสนิทว่านั่นคืออรหันต์แล้วก็ฉลองกันยกย่องกัน สร้างอนุสรณ์เป็นเครื่องประเทืองอลังการให้แก่ผู้นี้ที่บอกว่าเป็นอรหันต์ๆ บางคนก็สร้างตั้งแต่ยังมีชีวิตเป็นๆ บางคนท่านตายไปแล้วลูกศิษย์ลูกหาก็สร้างๆๆ เพื่อจะโปรโมทว่านี่คืออรหันต์ โปรโมทว่าผู้นั้นเป็นอรหันต์
อาตมาเห็นพฤติกรรม พฤติการณ์อย่างนี้แล้วก็ มันน่าสงสารพระพุทธเจ้า น่าสงสารศาสนา อาตมาเอง อาตมาก็เจตนาจะประกาศ จะยืนยันว่า อรหันต์ ต้องเป็นอย่างนี้ ประกาศตัวเอง เจตนาอย่างยิ่งเลย เจตนาอย่างบริสุทธิ์ใจ ไม่ต้องการข่มเบ่งอะไรเลย ต้องการบอกให้รู้ว่าอรหันต์นั้นคืออย่างนี้ อย่างนั้นมันไม่ใช่ อย่างที่มันเชื่องๆช้าๆชุ่มๆฉ่ำๆ อย่างนั้นไม่ใช่อรหันต์อรหันต์จะต้อง กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา นี่ใช้ภาษาวิชาการเลย รู้จักบ้างไหม กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา คืออาการอย่างไร นี่ดูอาการ 87 ปีนี่ยังเป๋งๆอยู่เลย(พ่อครูพูดผิดว่า 89 ปีอีกแล้ว) สัญญาวิปลาสไปเลย อาตมาไม่ได้ทิฏฐิวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส สัญญาวิปลาสอย่างเดียว จิตอาตมาเต็ม จิตอาตมาเป็นพระอรหันต์จะมีทิฐิและจิตที่วิปลาส แต่ไม่ได้มีแต่สัญญาที่วิปลาส ในวิปลาส 3
สู่แดนธรรม…เอาเข้าให้จริงๆไม่นับเป็นสัญญวิปลาสนะครับ วิปลาสนั้นต้องเอาสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นสิ่งที่เที่ยง
พ่อครูว่า…วิปลาสแท้มี 4 คือ เห็นว่าทุกข์แท้ๆก็เป็นความสุขเห็นความไม่เที่ยงว่าเป็นความเสี่ยงเห็นความไม่มีตัวตนว่ามีตัวตนเห็นสิ่งที่ไม่น่าได้น่ามีน่าเป็นสิ่งที่น่าได้น่ามีน่าเป็น
พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ครบชัดเลยแค่ 4 ประเด็นนี้ ทุกข์แท้ๆไปหลงว่าสุข ไม่เที่ยงแท้ๆหลงว่าเที่ยงแท้ หลงไม่มีตัวตนก็ไปหลงว่ามีตัวตน สิ่งที่ไม่น่าได้น่ามีน่าเป็นก็ไปหลงว่าน่าได้น่ามีน่าเป็น ครบหมดเลย ถ้าเข้าใจแค่นี้ก็คนเราหนอ
ก็ต้องมาทำจะได้เรียนรู้จิตมาทำทิฏฐิให้สัมมาทิฏฐิ แล้วก็เรียนจิตให้เต็มที่ สัญญากำหนดหมายจิต จิตในจิต เจโตปริยญาณ 16 ถ้ารู้ครบแล้วก็ทำได้ครบถ้วนก็จบ จบเลย เจโตปริยญาณ 16 แล้วก็ปฏิบัติให้บรรลุ ปฏิบัติให้บรรลุเจโตปริยญาณ 16 ก็จบเลย ไล่กันได้ไหม
อาตมาบอกวิธีให้ไล่ทีละคู่ๆ สามคู่แรกง่ายจะตาย ราคะกับไม่ใช่ราคะ โทสะกับไม่ใช่โทสะ โมหะกับไม่ใช่โมหะ 6 อันแล้ว
เหลืออีก 10 จับทีละคู่
คู่แรก อันหนึ่งเป็น static อันหนึ่งเป็น Dynamic อันหนึ่งเป็นนิวเคลียร์ฟิชชัน อันหนึ่งเป็นนิวเคลียร์ฟิวชัน มันก็เป็น 2 ลักษณะ อันนึงจะเกาะกันแน่น อีกอันนึงกูไม่เกาะกับใครจะกระจายนี่คือนิวเคลียร์ฟิชชัน ไปเดี่ยวๆเลย แล้วเขาถือว่าอันนั้นจะบรรลุ ที่จริงแล้วมันทะลุไม่ใช่บรรลุ นั่นแหละคู่ที่ 1 ของ 5
คู่ที่ 2 ต่อมาเป็นมหัคคตะ กับ อมหัคคตะ คือยิ่งใหญ่กับไม่ยิ่งใหญ่
คู่ที่ 3 สอุตระ กับอนุตระ คือ ดี กับดียังไม่จบ ดีกว่านี้ยังมีอีก เขาเรียกอนุตระ
แล้วจิตดีสูงสุดคืออย่างไร ก็แยกเป็นสองคู่
คู่ที่ 1 คือ สมาหิตะ กับ อสมาหิตะ อีกคู่หนึ่งคือวิมุติกับอวิมุติ
สมาหิตะคือจิตตั้งมั่นแล้ว อสมาหิตะคือจิตยังไม่ตั้งมั่น ส่วนคำว่าสมาธิเป็นคำกลางกลางที่เรียกกันทั่วไป อย่างคำว่าฌาน สมาธิ ก็เรียกกลางๆ หากว่ายังไม่สมาธิก็ยังไม่เข้าเป้า
วิมุตก็คือจบหลุดพ้น ที่จริงวิมุติแปลว่ารู้สึกรู้แล้วนะ รู้อะไร รู้ว่าหมดแล้ว หลุดพ้นแล้วจบแล้ว ไม่มีอะไรต่อแล้วสูงสุด วิมุติ กับ อวิมุติ เป็นตัวตรวจสอบสุดท้ายคู่หนึ่ง
วิมติเป็นคู่ปัญญา ส่วนสมาหิโต เป็นเจโต จบเป็นอุภโตภาค สมบูรณ์แบบ
นี่สภาวธรรมเป็นอย่างนั้น

See also  แบบฝึกหัดระยะทางระหว่างจุดสองจุด 01 | แบบฝึกหัด ระยะ ห่าง ระหว่าง จุด สอง จุด
See also  [Update] Mini Legend (App เกมส์แข่งรถจิ๋ว แต่งรถ ทามิย่า) | ราง รถ ทา มิ ย่า - Sathyasaith

สื่อธรรมะพ่อครู ตอน วิปลาส 4 กับเจโตปริยญาณ 16

สื่อธรรมะพ่อครู(อาริยบุคคล) ตอน จำแนกพระอาริยะโดยสภาวะ


อาตมาทำงานศาสนามาเกือบ 50 ปีแล้ว ที่อาตมาทำงานศาสนาเป็นงานระดับแก่นสารระดับที่เข้าถึงวิมุติ เข้าถึงจุดสำคัญของศาสนา เป็นโลกุตรธรรม ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มี อาตมาพูดได้เต็มปากว่าในวงการศาสนาพุทธทุกวันนี้ไม่มี ไม่มีที่ไหนที่เขาอยู่ในวงศ์ของความเป็นโลกุตรธรรมตลอดเวลา
โลกุตรธรรมนั้นเริ่มต้นตั้งแต่จิตที่เรามีแนวคิด มีสติ มีสัมปชัญญะแล้วก็ระลึกถึงความเป็นโลกโลกียะกับความเป็นโลกุตระได้ แล้วจิตของเราก็ มีกระแสมีแนวโน้มของมันมีความยินดีที่จะออกมาสู่โลกุตระ ออกมาหรือออกไปหรือออกจาก ภาษาบาลีคือเนกขัมมะ ออกจากกามออกจากโลกีย์ออกจากกิเลส พวกนี้คืออาการจิต ที่มีเนกขัมมะ มันเป็นจริง ถ้าจิตใจใครมีความเป็นจริงอย่างนี้
แค่ความอยากออกจาก แล้วเรามาพิจารณาเข้าถึงสภาวะจริงของจิตเรา ว่าจิตใจของเราจมในโลกียะ สัมผัสอันนี้แล้วอยากได้อยากมีอยากเป็นมาเป็นของเรา มาหาตัวเรามาหาอัตตา อัตตานียา น่าได้ได้น่ามีน่าเป็นไปหมด ไอ้นั่นเดี๋ยวดี ไอ้นี่เดี๋ยวเป็น อันนี้ไม่น่าเป็นเอาไปไกล ผลักออกไป มันก็มีพลังงานผลักและพลังงานดูดนี่แหละ
ผู้ใดอ่านจิตตัวเองเห็นอาการ เห็นลักษณะของมัน อาการของมัน เป็นอาการ เป็นอาการมโน อาการมันผลักหรือมันดูดมันไม่เป็นอาการกลางๆ ไม่เป็นอาการอุเบกขา จิตมันไม่ได้อยู่กลาง มันไม่ได้เป็นมัชฌิมา คำว่ามัชฌิมานี่คืออาการคือสภาวะ มัชฌิมาไม่ใช่แปลว่าทาง ทางนั้นคือปฏิปทา แปลว่าทาง แปลว่าวิธี หรือวิถี แปลว่า ลักษณะขององค์ประกอบ ในการไปใช้ปฏิบัติ เรียกว่าปฏิปทา คือมรรค
ส่วนมัชฌิมามันเป็นผล จิตของเราเป็นกลางแล้ว นี่คือนัยละเอียดที่คนไปผิดเพี้ยนบอกว่ามัชฌิมาปฏิปทาแปลว่าทางสายกลาง คำแปลว่าทางสายกลางนั้นเป็นการแปลที่ผิด เพราะมันเป็นคำ 2 ที่ทิ้งไปไม่ได้ ต้องแปลให้ชัด แปลว่าวิธีปฏิบัติให้สู่ความเป็นกลาง
อาการที่ไปแตะความร้อนความเย็นเกินสามัญก็ต้องเคลื่อนไหวไปมา ก็ไปเห็นอาการของผู้ที่เจตนาที่จะไปแตะต้องสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรืออยู่ในภาวะที่ บรรยาย อธิบายความเข้าใจของทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งความร้อนความเย็นทั้งความดีความชั่ว เมื่อพูดถึงชั่วก็ต้องถล่ม นิคหะ ต้องข่มต้องกด เมื่อพูดถึงดีก็ต้องยก มันเป็นธรรมชาติที่จะต้องทำเช่นนั้น
โสดาบัน นั้น กำหนดโดยศีล 5 เป็นเบื้องต้น ศีล 5 นี้ครบกาย วาจา ใจ ศีล1 2 3 ก็กาย ศีล 4 วาจา ศีล 5 ใจ แล้วศีล 5 คุณได้บริสุทธิ์อยู่ไหม กาย วาจา แม้แต่ใจ ยังมีลักษณะของโลภโกรธหลงของใจ มันยังเกิดอยู่ในใจเรา มันจะออกมาข้างนอกบ้างก็ระดับของสกิทาคามี ออกมาข้างนอก ลักษณะสกิทาคามี แต่ถ้าอยู่ภายในสามารถระมัดระวังควบคุมได้เรียกว่าอนาคามี คุณก็อยู่ในลักษณะโสดาบันที่สมบูรณ์ดีบริบูรณ์ดี ทำได้ แต่คุณก็ต้องลดพลังที่มันจะออกมาแสดงออก หรือว่ามีพลังงานของความโลภ โกรธ หลง ในกรอบของศีล 5 ไม่ใช่ว่าได้ทุกอย่าง สัมผัสกับอะไรทุกอย่างไม่มีขั้นตอนเลย ไม่มีขีดก็จะไม่เกิดโกรธ โลภ หลงหมด ไม่ใช่
และในความหมายของศีล 5 จะต้องชัดเจนลงไปเลยว่า สัมผัสกับสัตว์ สัมผัสกับของ สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ข้อ 3 แล้วคุณก็เกิด สังขาร ปรุงแต่งเป็นอารมณ์หรือเวทนา
เวทนาสุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ หรือข้างในจิต ต้นที่มันจะเกิดเวทนาที่มีอาการอกุศลจิตเป็นเหตุ อยู่ในจิต คุณก็ต้องพิจารณาเลย ถ้าบุคคลที่ไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้รู้จักจุดที่จะพิจารณา จุดพิจารณาคำว่ากาย คืออะไร จุดที่จะพิจารณาคำว่า เวทนาคืออะไร จุดที่จะพิจารณาความเป็นจิต คืออะไร ความเป็นธรรมคืออะไร คนที่เรียนรู้มายังไม่สมบูรณ์ ไม่ได้เรียนรู้อย่างถูกต้องว่าการพิจารณานี้แหละ ลืมตามีสัมผัสพิจารณา มีสติ มีธรรมวิจัย มีวิริยะมีโพชฌงค์ในการปฏิบัติ โพชฌงค์ในการปฏิบัติองค์สามองค์
สติองค์ที่ 1 ธรรมวิจัยองค์ที่ 2 วิริยะองค์ที่ 3 พากเพียรพยายามที่จะมีสติและมีวิจัย ในการประกอบอาชีพ มรรคมีองค์ 8 ในการกระทำกรรมกิริยาทุกอย่าง กัมมันตะ ในขณะที่พูด ในขณะที่คิด สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ นี่คือ ในองค์ประกอบของการจะปฏิบัติธรรม การจะศึกษาเรียนรู้ คุณจะต้องมีสิ่งเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา แล้วก็ปฏิบัติในอาชีพในการกระทำการงานกรรมกิริยาทุกอย่าง ในขณะพูดในขณะคิดมีสติแล้วก็วิจัยเมื่อผัสสะ
เมื่อมีผัสสะก่อเกิด ถ้าเผื่อว่า คุณไม่มีกาย ก็ไม่มีจิต กายก็คือจิต กาย ตถาคตเรียกว่าจิต มโน วิญญาณ กายต้องเน้นที่จิต แล้วจริงๆแล้วกายต้องมี 2 มีทั้งภายนอกและภายในต้องมีผัสสะ เป็นองค์ 3 ขึ้นมา ถึงจะเกิดสภาวะองค์รวมเรียกว่า กาย กายนี้คือองค์รวมของสภาวะธรรมะ 2 เทวธัมมา เมื่อสัมผัส เป็นองค์รวมแล้วต่อเนื่องจากกายสัมผัส ก็จะมีเวทนา
เวทนาคือความรู้สึกอารมณ์ เมื่อมีอวิชชาก็ปรุงแต่งเป็นสุขเป็นทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์โดยมีจิตเป็นตัวกลาง อกุศลจิตเป็นตัวการทำให้เกิดความชอบไม่ชอบ ความสุขความทุกข์ไม่สุขไม่ทุกข์ ก็ต้องแยก ให้ออก คุณสามารถแยกออก ดูอาการ จนกระทั่งแยกได้จริงๆ แยกออกว่าอาการอย่างนี้เป็นตัวการเป็นเหตุ อาการต้องการ ต้องการผลักต้องการดูด มีพลังงานผลักดูดชอบหรือชัง

See also  [NEW] สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ | คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ - Sathyasaith

สื่อธรรมะพ่อครู(อาริยบุคคล) ตอน จำแนกพระอาริยะโดยสภาวะ

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆEconomy

6 thoughts on “*พุทธวจน การฝึกจิตให้สงบ | วิมุตินิยม”

Leave a Comment