Table of Contents
⚖ การห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
คลิปนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
กฎหมาย ดอกเบี้ย แพ่งและพาณิชย์ Legal Mind By Jair
สัญญากู้ยืมเงิน (วิธีการเขียน) เจ้าหนี้และลูกหนี้ควรรู้
สัญญากู้ยืมเงินแบบนี้มีขายตามร้านเครื่องเขียนนะครับ
ฎีกา InTrend ep.32 สัญญาซื้อขายที่ดินที่ให้ริบมัดจำสูงเกินส่วน..เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่
ฎีกา InTrend ep.32 สัญญาซื้อขายที่ดินที่ให้ริบมัดจำสูงเกินส่วนจะถือเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่
The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, สุริยัณห์ หงษ์วิไล, จีรวรรณ เจริญยศ
Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
Episode Producer \u0026 Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
Sound Designer \u0026 Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
Coordinator \u0026 Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
Webmaster : ผุสชา เรืองกูล
ในการทำสัญญาต่าง ๆ มักมีการกำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งที่มีหนี้หรือหน้าที่ต้องทำตามสัญญานั้นต้องวาง “มัดจำ” ไว้เพื่อให้เป็นหลักประกันแก่อีกฝ่ายว่าเมื่อถึงกำหนดตามสัญญาแล้ว จะมีการชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ หากไม่มีการชำระหนี้ มัดจำนี้ตามปกติย่อมจะถูกริบได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้คือหากจำนวนมัดจำที่ถูกกำหนดให้วางไว้มีจำนวนสูงมาก การริบมัดจำที่สูงมากนี้จะกลายเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้หรือไม่
นายเก่งได้ตกลงทำสัญญาซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจากนายกล้า โดยวางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง แต่พอถึงกำหนดชำระราคาและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามที่สัญญากำหนดปรากฏว่าไม่มีการชำระราคาและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ต่อมานายเก่งได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงเดิมกับนายกล้าอีก โดยตกลงให้นำเงินมัดจำในสัญญาเดิมมาเป็นมัดจำในสัญญาใหม่และนายเก่งวางเงินมัดจำเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง แต่เมื่อถึงกำหนดก็ยังมีปัญหาคล้ายเดิมและยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
นายเก่งและนายกล้ามาทำสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงเดิมอีกเป็นครั้งที่สาม โดยมีข้อตกลงคล้ายเดิมที่ให้นำมัดจำสัญญาเก่ามาเป็นมัดจำตามสัญญาใหม่แล้วนายเก่งวางเงินมัดจำเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง แต่ก็ยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันอีก
ทั้งคู่มาตกลงทำสัญญากันอีกเป็นครั้งที่สี่ โดยตามสัญญานี้กำหนดราคาที่ดินเป็นเงิน 3,900,000 บาท และให้นำมัดจำเดิมตามสัญญาทั้งสามครั้งมารวมกับเงินที่วางเพิ่มรวมเป็นมัดจำ 1,700,000 บาท แต่สุดท้ายเมื่อพ้นกำหนดเวลาก็ไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันเนื่องจากนายเก่งรวบรวมเงินไม่พอชำระราคาทั้งหมด นายกล้าจึงริบมัดจำทั้งหมด
นายเก่งจึงมาฟ้องขอเรียกเงินมัดจำที่วางไว้คืนอ้างว่าเป็นการริบมัดจำที่ไม่เป็นธรรม
การวางมัดจำตามสัญญาตามปกติย่อมเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นหลักฐานว่ามีการทำสัญญากัน เพราะมิฉะนั้นคงไม่มีความจำเป็นต้องนำสิ่งที่มีค่าเช่นเงินมาวางให้ไว้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง นอกจากนั้น มัดจำยังเป็นหลักประกันสำหรับการปฏิบัติตามสัญญาของฝ่ายที่นำมัดจำนั้นมาวางไว้ด้วย
ด้วยเหตุที่เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานี้ ทำให้หากฝ่ายที่วางมัดจำไว้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่ชำระหนี้ที่กำหนดไว้ คู่สัญญาที่เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญานั้นย่อมมีสิทธิที่จะริบมัดจำนั้นได้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ โดยไม่ได้มีการกำหนดเรื่องการลดจำนวนมัดจำที่จะริบได้เหมือนกรณีที่กำหนดเบี้ยปรับไว้สูงเกินส่วน
อย่างไรก็ตาม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 7 กำหนดไว้ว่าในสัญญาที่มีการให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ หากมีกรณีที่จะต้องริบมัดจำถ้ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริงก็ได้ แต่ปัญหาประการหนึ่งคือบทบัญญัตินี้ใช้เฉพาะกับกรณีที่เป็น “สัญญาสำเร็จรูป” หรือจะใช้กับสัญญาอะไรก็ได้
ตามปกติสัญญาที่มักปรากฎข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมมักจะเป็นสัญญาที่เป็นแบบฟอร์มสำเร็จรูปที่คู่สัญญาที่มีอำนาจต่อรองมากกว่ากำหนดเงื่อนไขทุกอย่างไว้แล้ว อีกฝ่ายทำได้เพียงเลือกว่าจะลงชื่อทำสัญญาด้วยหรือไม่ แต่ข้อกำหนดในเรื่องมัดจำนี้กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะใช้เฉพาะกับสัญญาสำเร็จรูป นอกจากนั้นในกฎหมายดังกล่าวก็มีกรณีที่ใช้บังคับกับสัญญาที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญาสำเร็จรูปก็ได้ เช่น สัญญาขายฝาก ดังนั้น การริบมัดจำที่สูงเกินส่วนไม่ว่าจะเป็นในสัญญาใด ๆ ก็ตามก็อาจอยู่ในข่ายที่ศาลจะลดจำนวนที่จะริบให้เหมาะสมกับความเสียหายจริงที่เกิดขึ้น
แต่การที่กฎหมายกำหนดให้ศาลลดจำนวนมัดจำที่จะริบนี้ไม่ได้บังคับว่าแม้จะปรากฏว่ามัดจำนั้นมีจำนวนสูงมากแล้วศาลจะต้องลดให้เสมอไป การลดหรือไม่ลดเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องพิจารณาความเหมาะสมในแต่ละกรณีไป
สำหรับในเรื่องระหว่างนายเก่งกับนายกล้านี้ จะเห็นได้ว่ามีการทำสัญญาซื้อขายกันรวมแล้วถึงสี่ครั้ง เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะเมื่อมีการทำสัญญากัน นายเก่งซึ่งเป็นผู้ซื้อไม่สามารถหาเงินมาชำระราคาได้ ทำให้ต้องทำสัญญากันใหม่ เพียงแต่ให้เอามัดจำตามสัญญาเดิมมารวมไว้แล้วให้นายเก่งวางมัดจำเพิ่ม จนกระทั่งถึงสัญญาที่ทำครั้งที่สี่ นายเก่งก็ยังหาเงินมาชำระราคาไม่ได้ จนเป็นเหตุให้นายกล้าริบมัดจำ
หากมองเฉพาะที่จำนวนมัดจำที่ถูกริบจะเห็นว่าเป็นจำนวนที่สูงมากถึง 1,700,000 บาท จากราคาซื้อขายทั้งหมด 3,900,000 บาท หรือเกือบถึงครึ่งหนึ่งของราคาซื้อขาย แต่เหตุที่ทำให้มัดจำสูงเป็นเพราะนายเก่งผิดสัญญามาแล้วถึงสามครั้งเอง เพียงแต่นายกล้ายอมให้เอามัดจำตามสัญญาก่อน ๆ ที่ความจริงนายกล้ามีสิทธิริบได้อยู่แล้วตามสัญญาแต่ละครั้งมารวมเข้าด้วยกันเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่จะชำระกันเท่านั้น ทำให้ในคดีนี้ศาลฎีกาเห็นว่าแม้จำนวนมัดจำจะสูง แต่ตามพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนแต่เป็นความผิดของนายเก่งเอง จึงไม่สมควรจะลดมัดจำให้
บทเรียนจากเรื่องนี้คงพอจะกล่าวโดยสรุปได้ว่า การกำหนดให้วางมัดจำเป็นจำนวนที่สูงมาก หากต้องริบมัดจำแล้วปรากฏว่ามัดจำนั้นสูงเกินส่วนจากความเสียหายที่เกิดขึ้น กฎหมายให้อำนาจศาลลดมัดจำที่จะริบนั้นได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ของแต่ละเรื่องด้วย หากมีพฤติการณ์เช่นกรณีนี้ ศาลจะไม่ลดจำนวนมัดจำที่จะริบก็ได้
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2563)
เป็นหนี้ได้รับหมายศาลจากเจ้าหนี้ไม่ต้องตกใจไม่ติดคุก เชื่อผม เพราะมันเป็นคดีแพ่ง
เป็นหนี้ได้รับหมายศาลจากเจ้าหนี้หรือธนาคารหรือไฟแนนท์ไม่ต้องตกใจไม่ติดคุกเชื่อผม เพราะมันเป็นคดีแพ่ง
สิ่งแรกที่ควรทำหยิบขึ้นมาอ่านก่อน ว่าใครเป็นเจ้าหนี้ใครเป็นลูกหนี้เขาฟ้องมาข้อหาอะไรเป็นที่เท่าไหร่หมายเลขคดีดำอะไรศาลไหน
หลังจากนั้นโทรไปหาทนายความของโจทก์ด้านหลังคำขอท้ายฟ้อง สอบถามรายละเอียดและแนวทางในการเจรจาหรือต่อสู้คดี
ลูกหนี้ควรไปศาลหรือไม่ไม่ไปได้ไหม และควรปรึกษาทนายหรือไม่มีประโยชน์ในการจ้างทนายเข้าไปให้คำแนะนำทางกฎหมายหรือไม่
ลองฟังคลิปนี้ดู อาจารย์เดชาให้ความรู้เกี่ยวกับชี้แนะทางออกเมื่อได้รับหมายศาล
ลองฟังดูนะครับมีประโยชน์ช่วยแชร์ไปด้วย พี่น้องประชาชนจะได้ไม่ต้องเครียด เพราะมีทางออก
ดอกเบี้ย เขาคิดกันยังไง? | MONEY 101 EP.1
MONEY 101 ความรู้การเงินพื้นฐานสั้นๆ ง่ายๆ เริ่มตอนแรกด้วยเรื่อง ‘ดอกเบี้ย’ เคยรู้กันหรือเปล่าว่าเขาคำนวณดอกเบี้ยกันอย่างไร?
———————————————
THE STANDARD : STAND UP FOR THE PEOPLE
สำนักข่าวที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารในแนวทางสร้างสรรค์
THE STANDARD Website : http://www.thestandard.co
Facebook : https://www.facebook.com/thestandardth
Twitter : https://twitter.com/thestandardth
Ig : @thestandardth.ig
ดอกเบี้ย Money101 KrungthaiAXALife TheStandardco TheStandardth StandUpforThePeople MoneyCoachTH
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่Economy
753409 680980I adore foregathering beneficial details , this post has got me even much more info! . 448133
75562 68039Swiftly and easily build your web traffic and PR, which provides Internet internet site visitors to add your page to any social bookmarking site. 953759
754304 965500Most what i read online is trash and copy paste but i feel you offer something different. Maintain it like this. 704861
424523 310944Hello super schner Webblog den ihr da habt. Bin gerade ber die Google Suche darber gestolpert. Gefllt mir echt super gut. macht weiter so. MFG Martina 145663
544904 922958Thanks for the details provided! I was researching for this article for a long time, but I was not able to see a dependable source. 783369
193472 173537Hey! Excellent stuff, please maintain us posted when you post something like that! 438815
199731 309052This is the fitting blog for anybody who desires to uncover out about this topic. You notice a great deal its almost onerous to argue with you (not that I truly would wantHaHa). You undoubtedly put a brand new spin on a topic thats been written about for years. Nice stuff, basically excellent! 495420
880312 391076Watch the strategies presented continue reading to discover and just listen how to carry out this amazing like you organize your company at the moment. educational 998502
474187 75194I gotta favorite this web website it seems quite beneficial . 861579
95122 819866Hey there, I think your blog might be having browser compatibility issues. When I look at your internet site in Safari, it looks fine but when opening in Internet Explorer, it has some overlapping. I just wanted to give you a quick heads up! Other then that, superb weblog! 796437
806821 881524Actually nice style and design and superb content material , absolutely nothing at all else we need : D. 759566